++Welcome To My Blog++

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลยุทธการทำงานให้มีความสุข


กลยุทธการทำงานให้มีความสุข

วิชาญ วนะสิทธฺ์     
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา

                "งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน" คำกล่าวนี้เป็นคำที่น่าคิดมาก การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์อยู่เพื่ออะไร

                มีคนจำนวนไม่น้อยที่หลงเข้าใจผิดคิดว่า การมีชีวิต นั่งกินนอนกิน โดยไม่ต้องทำงานนันเป็นสิ่งที่ตนใฝ่ฝัน แต่ถ้าคิดถึงคนที่ไม่สามารถทำงานได้เลย งานในที่นี้คือ งานนอกบ้าน งานในบ้าน ถ้าต้องนั่งกิน นอนกิน ก็คงเข้าข่ายเป็นคนพิการหรืออัมพาตนั่นเอง พอพูดถึงพการ  หรืออัมพาตก็คงไม่มีใครพึงประสงค์เป็นแน่

                ช่วงชีวิตมนุษย์นั้น        ช่วงของวัยทำงานดูจะเป็นช่วงชีวิตที่มีความสำคัญที่สุดเพราะจะมีประสบความสำเร็จหรือไม่   จะนำครอบครัวไปรอดหรือไม่จะสร้างอนาคตให้แก่ลูกหลานได้หรือไม่จะสร้างอนาคตให้แก่ลูกหลานได้หรือไมคือช่วงชีวิตการทำงานนี่เอง

                จากอายุ 20 - 60 ปี ประมาณ 40 ปีที่ต้องทำงาน (เกษียณ 60 ปี) เป็นช่วงชีวิตที่ยาาวนานที่สุด จึงเป็นเวลาที่มีค่ามากที่สุด ทำอย่างไรจึงจะวางแผนชีวิตการทำงานให้ประสบความสำเร็จซึ่งจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ ความสำเร็จของชีวิตครอบครัวรวมทั้งอนาคตของบุตรหลาน

                ระยะเวลาของวัยทำงาน จึงมีค่ามากที่สุดและเป็นช่วงชีวิตที่ยาวนานที่สุดจึงมีคำว่า "งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน"

                ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องหากลยุทธที่จะทำงานให้มีความสุขให้ได้

                ปัญหาก็มีอยู่ว่า   มนุษย์มัหไม่ได้สิ่งที่ตนเองต้องการเสมอหรือถึงได้ก็ยังไม่เพียงพอแต่มักจะไม่พอใจที่ตนได้อยู่เสมอ ๆ  บ้างก็ได้งานที่ตนเองไม่ชอบ แต่ต้องจำใจทำเพราะเดี๋ยวนี้งานหายาก บางคนทำงานหนักก็ไม่ว่าแต่ไม่ถูกชะตากับเจ้านาย  บางคนไม่ถูกกับเพื่อนร่วมงาน บางคนไม่ถูกกับสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะพูดถึงแนวทางในการทำงานให้มีความสุข  ก็ต้องหันมาดูว่าอะไรที่ทำให้ทำงานแล้ว มีความทุกข์ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานนั้น มีดังนี้ คือ
                1. งาน
                2. เงิน
                3. นายงาน
                4. เพื่อนร่วมงาน
                5. องค์กร
                6. สิ่งแวดล้อม
                7. ตัวเอง

                ปัญหา ที่ทำให้การทำงานไม่มีความสุข
                1. ปัญหาส่วนตัว
                2. ปัญหาครอบครัว
                3. ปัญหาที่ทำงาน

                ปัญหาทั้งสามด้านนี้   มีความเกี่ยวพันกันอย่างมากปัญหาส่วนตัวก็กระทบถึงครอบครัวการทบถึงที่ทำงาน โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวก็มีผลต่อการทำงาน  และบางคนปัญหาที่ทำงานก็ส่งผลถึงตนเอง และครอบครัวเช่นกัน

                หากสามารถแยกปัญหาแต่ละด้านไม่ให้มีผลกระทบกันได้ ก็เป็นการดี แต่ก็ทำได้ยากเพราะ การทำงานก็เพื่อครอบครัว หากครอบครัวมีปัญหา อาาจทำลายกำลังใจในการทำงานได้

                นอกจากนี้   พฤติกรรมบางประการดังต่อไปนี้ก็มีผลอย่างมากต่อการทำงานที่ไม่มีความสุข คือ
               1. เป็นคนที่นึกถึงแต่ผลตอบแทนเป็นวัตถุ (เงิน) มากเกินไป
               2. เป็นคนเห็นแก่ตัว นนึกถึงผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม (ผู้อื่น)
               3. มีความต้องการ (ความทะเยอทะยาน อยากได้ อยากเป็น) ที่ไม่อยู่บนความเป็นจริงของตนเอง (เป็นไปได้ยาก)
               4. มีความรักตัวเองมากเกินไปในทางที่ผิด เช่น กลัวตวเองลำบาก กลัวว่าจะไม่มีความสุข ถ้าไม่ได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
               5. มีความอยากไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อผิดหวังก็เกิดทุกข์
               6. "บ้าอัตตา" หรือติดยึดมากเกินไป คนทุกคนจะมีสิ่งติดยึดต่างกัน แม้บางคนย้ายหน่วยงานแล้วก็ตาม ก็ยังติดยึดหลาย ๆ สิ่งจากที่ทำงานเดิม จึงเป็นปัญหา
               7. ขาดความสุนทรีย์ในอารมณ์ (ขาดอารมณ์ขัน) และมองโลกในแง่ร้าย
               8. ปรับตัวยาก

                กลยุทธที่จะทำให้การทำงานมีความสุข  มีแนวทางดังนี้

                1. รักงาน
                2. รักองค์กร
                3. รักผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง (นายงาน - เพื่อน - ลูกน้อง - ลูกค้า)
                4. ลดความเห็นแก่ตัว และใฝ่คุณธรรม
                5. ทำโดยไม่หวังผลตอบแทนบ้าง (นอกงาน - ในงาน)
                6. ทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ มีความสุข พอใจสมหวัง
                7. มีกิจกรรมสร้างสรรค์ในที่ทำงาน
                8. มีส่วนร่วมคิด ส่วนทำ ส่วนรับผิดชอบในที่ทำงาน
                9. ทำให้เป็นที่ยอมรับ มีเกียรติยศ ชื่อเสียง เช่น ได้รับรางวัลต่าง ๆ
               10. วางแผน - ติดตาม - ประเมินผลการกระทำของตนเองเป็นนิจล

                ทั้งสิบประการนี้เป็นแนวทางที่จะสร้างความสุขในการทำงาน หากทำได้ทั้งสิบประการท่านจะเป็นคนที่น่าอิจฉาแก่คนทั้งโลกแน่นอน และจะเป็นคนที่เพียบพร้อมด้วยเกียรติยศ ชื่อเสียงและที่สำคัญ ยังส่งผลถึงครอบครัว หน่วยงาน และสังคมโดยส่วนร่วม