อาการไอ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกของปอด
ที่ใช้ในการสกัดสิ่งที่บุกรุกเข้ามา โดยทั่วไป อาการไอ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สูดดมควันต่างๆ
ฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ แต่สาเหตุสำคัญ คือ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส
หากมีอาการเจ็บคอ ไอแห้งๆ หรือมี เสมหะเล็กน้อย มักเป็นอาการร่วมของโรคหวัด ได้แก่
ไข้หวัด โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เสมหะอุดตันที่คอ ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
ส่วนสาเหตุที่อาจเป็นไปได้แต่พบได้น้อยได้แก่
หัด ไอกรน คออักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม เป็นต้น
วิธีรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือ
การรักษาที่ต้นเหตุของการไอ แต่ไม่ใช่การกดอาการไว้ เพราะการไอจะช่วยขับเอาเสมหะ
และฝุ่นละอองที่ สูดหายใจเข้าไปออกจากปอด หลอดลม และหลอดคอออกมา
รักษาไอให้ถูกวิธี เมื่อเริ่มมีอาการไอ
คนส่วนใหญ่มักรีบสรรหายาแก้ไอสารพัดยี่ห้อมากิน ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว
บางครั้งยังส่งผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา
ทางที่ดีที่สุดควรแก้ด้วยวิธีที่ปลอดภัยดังนี้ค่ะ
1.ควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัว
โดยพยายามอยู่ในบริเวณที่มีอากาศไม่เย็น ไม่มีฝุ่นละออง
2.อาการไอแบบมีเสมหะ
จะเป็นการดึงมูกออกจากเนื้อเยื่อ ควรนอนหนุนหมอนให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว
หรือในลักษณะกึ่งนอนกึ่งนั่ง เพื่อช่วยให้การหายใจคล่องขึ้น
เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยนอนราบตามปกติ
3.ถ้ามีอาการไอแบบแห้ง
จนไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ ควรใช้ยาสมุนไพรที่มีลักษณะข้น เพื่อเป็นการเคลือบคอ และบรรเทาอาการปวด
บรรเทาอาการไอด้วยสมุนไพร
•ขิง รสหวานเผ็ดร้อนจะช่วยขับเสมหะ
โดยนำเอาส่วนเหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย
คั้นเอาน้ำและเติม เกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ หรือใช้ขิงแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ
ทุบให้แตกต้มกับน้ำให้เดือด จิบเวลาไอ
•ดีปลี รสเผ็ดร้อนมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ
ใช้ผลแก่ของดีปลีประมาณ 1/2-1 ผล ฝนกับน้ำมะนาว เติมเกลือนิดหน่อย
กวาดลิ้นหรือจิบ บ่อยๆ
•เพกา
เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน "น้ำจับเลี้ยง" ของคนจีน ใช้ดื่มแก้ร้อนใน
เมล็ดเพกามีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับ เสมหะ โดยใช้เมล็ดเพกาประมาณ 1/2-1 กำมือ (หนัก 1.5-3 กรัม) ต้มกับน้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ตั้งไฟอ่อนๆ
ต้มให้เดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 3 ครั้ง
•มะขามป้อม ผลสดของมะขามป้อม
มีรสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณรักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ โดยใช้เนื้อผลแก่สด 2-3 ผล โขลกให้แหลก เหยาะเกลือเล็กน้อย
ใช้อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง
•มะขาม รสเปรี้ยวของมะขาม
สามารถกัดเสมหะให้ละลายได้ เมื่อมีอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ
ให้ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก (ที่มีรสเปรี้ยว)
จิ้มเกลือกินพอสมควร หรืออาจคั้นเป็นน้ำมะขามเหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้
•มะนาว รสเปรี้ยวของน้ำมะนาว
มีสรรพคุณแก้อาการไอ และขับเสมหะ โดยใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น
และใส่เกลือเล็ก น้อยจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล
ปรุงให้มีรสจัด จิบบ่อยๆ ตลอดวัน หรือหั่นมะนาวขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย จิ้มเกลือ
นิดหน่อย ใช้อมบ้างเคี้ยวบ้าง
•มะแว้งเครือ รสขมของมะแว้ง
มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และกัดเสมหะ โดยใช้ผลแก่สดประมาณ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่
เกลือ จิบบ่อยๆ หรือจะใช้ผลสดเคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ
จนกว่าอาการจะดีขึ้นก็ได้
กิน...รักษาอาการไอ
การเลือกบริโภคก็มีส่วนช่วยบรรเทาอาการไอได้
แต่ต้องเป็นการกินที่ถูกวิธีและถูกสูตรด้วยนะคะ
1.กินกระเทียมอัดเม็ดครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
2.กินวิตามินเอ วิตามินบี
และวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน
3.อมลูกอมรสเมนทอล หรือชนิดอื่นๆ
ที่ทำให้เกิดอาการชา จะทำให้รู้สึกชุ่มคอ
4.ผสมน้ำส้มไซเดอร์ 1 ส่วน กับน้ำอุ่น 3 ส่วน เอาผ้าขนหนูชุบน้ำดังกล่าว
แล้วพันรอบคอไว้ จะช่วยขับเสมหะ
บำบัดอาการไอด้วยน้ำมันหอม
น้ำมันหอมสำหรับบำบัดอาการไอ
แต่ละกลิ่นก็เหมาะกับแต่ละคน ที่มีธาตุเจ้าเรือนต่างกันดังนี้ค่ะ
•ธาตุเจ้าเรือนดิน ใช้ไพล ไม้จันทน์
มะลิ
•ธาตุเจ้าเรือนน้ำ ใช้โหระพา กำยาน มะลิ
•ธาตุเจ้าเรือนลม ใช้โหระพา
เปปเปอร์มิ้นต์
•ธาตุเจ้าเรือนไฟ ใช้โรสแมรี่ พิมเสน
การบูร ทีทรี ยูคาลิปตัส ขิง
•ธาตุเจ้าเรือนเป็นกลาง ใช้กุหลาบ
วิธีบำบัด
1.ใช้สูดดมโดยตรง
หรือใช้หยดในน้ำร้อนแล้วสูดดม
2.ผสมน้ำมันหอมระเหย วาสลีน
และขี้ผึ้งเข้าด้วยกัน แล้วทาที่บริเวณหน้าอก
3.หากคัดจมูกมากจนหายใจไม่ออก
บางทีการสูดดมอาจไม่ค่อยได้ผล ให้ใช้นิ้วถูข้างจมูกทั้งสองข้างให้ร้อน
สั่งน้ำมูกออก แล้ว ค่อยสูดดมใหม่ หรือใช้การทานวดจะได้ผลมากกว่า
4.นำยูคาลิปตัส เปปเปอร์มิ้นต์
ลาเวนเดอร์ และไพล ผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กัน ใช้สูดดมสูตรนี้ทำให้น้ำมูกลดลงทันที หายใจ
สะดวกขึ้น
5.นำยูคาลิปตัส ไธม์ สน ไซเปรส
และแซนดัลวูด ชนิดละ 2-3 หยด หยดลงในอ่างน้ำร้อน แล้วสูดดมไอน้ำประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการไอจะหายไป
6.ถ้าต้องการแก้อาการวิงเวียนหน้ามืด
ให้เติมการบูร หรือพิมเสน ลงไปเล็กน้อยตามสูตรจากข้อ 4 หรืออาจทำเป็นยาดมพกติดตัว ไว้
เวลาเดินทางไกลๆ หากบังเอิญว่ามีใครไอ จาม ก็หยิบขึ้นมาดมป้องกันการติดเชื้อได้ค่ะ
นิตยสารชีวจิตฉบับที่
159
แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com